วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมา กศน.อำเภอเมืองปราจีนบุรี

                                        ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

ชื่อสถานศึกษา : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองปราจีนบุรี  
ที่อยู่ : ถนนราษฎรดำริ ซอย 5  ตำบลหน้าเมือง  อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี  25000
เบอร์โทรศัพท์ : 0 – 3721 - 3261 เบอร์โทรสาร : 0 – 3721 - 3261
E-mail ติดต่อ : muang@hotmail.com
สังกัด : สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปราจีนบุรี

         สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

                                  ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองปราจีนบุรี ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ / กิ่งอำเภอ ลงวันที่  27  สิงหาคม พ.ศ. 2536 โดยศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองปราจีนบุรี เป็น 1 ใน 789 แห่งที่ประกาศจัดตั้งเป็นครั้งแรก เมื่อแรกตั้งใช้พื้นที่ร่วมกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปราจีนบุรี และเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2546 สถานศึกษาแห่งนี้ได้เปลี่ยนสายการปรับโครงสร้างบริหารราชการจากสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและต่อมาเปลี่ยนชื่อสถานศึกษา โดยบังคับใช้ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน

อาณาเขตที่ตั้งสถานศึกษา :
ทิศเหนือ         ติดต่อกับ เขตอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก และอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ทิศใต้             ติดต่อกับ เขตอำเภอศรีมหาโพธิ และเขตอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ เขตอำเภอประจันตคาม และเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ เขตอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี และเขตอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก

สภาพของชุมชน
อำเภอเมืองปราจีนบุรีตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูด (เส้นรุ้ง. ที่ 13 องศา 57 ลิปดา ถึง 14 องศา 18 ลิปดาเหนือ และระหว่างเส้นลองติจูด (เส้นแวง. ที่ 101 องศา 18 ลิปดา ถึง 101 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก ที่ว่าการอำเภอเมืองปราจีนบุรีตั้งอยู่บนถนนปราจีนอนุสรณ์ ตำบลหน้าเมือง (เขตเทศบาลเมืองปราจีนบุรี.ห่างจากศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี (หลังใหม่. ประมาณ 7 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถไฟประมาณ 122 กิโลเมตร ทางรถยนต์ผ่านจังหวัดนครนายก ประมาณ 158 กิโลเมตร หรือจากเขตมีนบุรี ผ่านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ประมาณ 88 กิโลเมตร มีเนื้อที่โดยรวม 451.896 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ
อำเภอเมืองปราจีนบุรี มีสภาพพื้นที่ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. พื้นที่บริเวณราบลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรี ได้แก่ พื้นที่ของตำบลดงพระรามส่วนใต้ ตำบลบางบริบูรณ์ ตำบลท่างาม ตำบลรอบเมือง ตำบลบางเดชะ ตำบลวัดโบสถ์ ตำบลไม้เค็ดส่วนใต้ และตำบลโคกไม้ลายส่วนตะวันตก พื้นที่บริเวณนี้มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ เหมาะสมแก่การเพาะปลูก ทำนา และการประมง
2. พื้นที่บริเวณที่ราบค่อนข้างสูงตอนกลางอำเภอ ได้แก่ พื้นที่ของตำบลดงพระรามส่วนเหนือ ตำบลบ้านพระ ตำบลไม้เค็ดส่วนเหนือ และตำบลโคกไม้ลายส่วนตะวันออก พื้นที่บริเวณนี้ จะมีลำคลองระบายน้ำจากที่ราบสูงเชิงเขาไหลลงสู่แม่น้ำปราจีนบุรี เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืช ทำสวนผลไม้ต่าง ๆ และมีการแบ่งพื้นที่ทำนาบางส่วน
3. พื้นที่ราบสูงเชิงเขาส่วนเหนือของอำเภอ ได้แก่ พื้นที่ของตำบลเนินหอม ตำบลดงขี้เหล็ก  ตำบลบ้านพระส่วนเหนือ และตำบลโนนห้อม พื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ราบสูงเชิงเขา รองรับน้ำจากภูเขาเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกพืช ทำสวน และทำนาบางส่วน

ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป 
สามารถแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน อยู่ระหว่าง เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม ฤดูฝนอยู่ระหว่าง เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ของปีถัดไป โดยทั่วไปได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ใต้อ่าวไทยฝั่งตะวันออก มีภูมิอากาศเป็นจุดเด่น คือ มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน และค่อนข้างหนาวจัดในฤดูหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 28.1 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิเฉลี่ยโดยทั่วไปของภาคกลาง มีฝนตกตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนตุลาคม ในปีหนึ่ง ๆ มีฝนตกประมาณ 129 วันปริมาณน้ำฝนวัดได้ประมาณ 1,598 มิลลิเมตรต่อปี เดือนสิงหาคม ถึง เดือนกันยายน มีฝนตกเฉลี่ยมากที่สุด 403.3 มิลลิเมตร มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 75.72 % สูงสุด 97 % และต่ำสุด 42 % ความชื้นสัมพัทธ์ โดยทั่วไปจะต่ำกว่าภาคใต้และภาคตะวันออกตอนล่างของประเทศ

เศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ
สภาพทางเศรษฐกิจของอำเภอเมืองปราจีนบุรี อยู่ในเกณฑ์ดี ประชากรร้อยละ 80 มีรายได้จากการประกอบ อาชีพเกษตรกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน 23 แห่ง
การเงินและธนาคาร การเงิน การธนาคาร มีสถาบันการเงินจำนวน 10 แห่ง ได้แก่
1. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
2. ธนาคารธนชาต
3. ธนาคารออมสิน 
4. ธนาคารกรุงเทพ
5. ธนาคารกรุงไทย
6. ธนาคารกสิกรไทย
7. ธนาคารทหารไทย
8. ธนาคารไทยพาณิชย์
9. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
10. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

ประชากร
อำเภอเมืองปราจีนบุรี มีประชากร 229,058 คน จำแนกเป็นชาย 54,705 คน หญิง 54,071 คน จำนวน 33,821 ครัวเรือน แยกออกเป็นตำบลต่าง ๆ ดังนี้

ตำบล
จำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน
เนื้อที่              (ตร.กม.)

จำนวนประชากร
จำนวนครัวเรือน
ชาย
หญิง
รวม
ตำบลหน้าเมือง
16
8.3
10,146
10,998
21,144
7,296
ตำบลท่างาม
12
35.03
2,179
2,406
4,585
1,469
ตำบลวัดโบสถ์
11
27.99
1,400
1,436
2,836
659
ตำบลบางเดชะ
9
43.803
1,505
1,611
3,116
620
ตำบลรอบเมือง
9
15.275
2,918
3,269
6,187
2,104
ตำบลดงขี้เหล็ก
14
56.303
4,843
5,220
10,063
3,230
ตำบลบ้านพระ
19
39
8,159
7,124
15,283
2,291
ตำบลเนินหอม
21
101
4,659
4,903
9,562
2,757
ตำบลโคกไม้ลาย
7
14.075
1,899
2,084
3,983
1,639
ตำบลไม้เค็ด
12
32.650
6,148
5,372
11,502
3,877
ตำบลโนนห้อม
12
40.593
2,524
2,824
5,648
1,476
ตำบลดงพระราม
12
17.843
7,653
6,110
13,763
5,967
ตำบลบางบริบูรณ์
6
10.955
672
714
1,386
436
รวม
160
14,503.742
54,705
54,071
229,058
33,821






การปกครองส่วนท้องถิ่น ในท้องที่ ได้แก่
1.  เทศบาล จำนวน 3 แห่ง คือ
เทศบาลเมืองปราจีนบุรี ประกอบด้วย พื้นที่ตำบลหน้าเมืองทั้งตำบล มีเนื้อที่ประมาณ 8.3  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,188 ไร่
เทศบาลตำบลบ้านนาปรือ ประกอบด้วยพื้นที่ หมู่ 1, 2, 3, 4 และตำบลเนินหอม มีเนื้อที่ประมาณ 15.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 9,687 ไร่
เทศบาลตำบลโคกมะกอก ประกอบด้วย พื้นที่ หมู่  1, 2, 3, 4, 7, 11 มีเนื้อที่ประมาณ 15.5 ตารางกิโลเมตรหรือ 9,687.5 ไร่
2.  องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 11 แห่ง ได้แก่
2.1 องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม
2.2 องค์การบริหารส่วนตำบลวัดโบสถ์
2.3 องค์การบริหารส่วนตำบลบางเดชะ
2.4 องค์การบริหารส่วนตำบลรอบเมือง
2.5 องค์การบริหารส่วนตำบลดงขี้เหล็ก
2.6 องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพระ
2.7 องค์การบริหารส่วนตำบลเนินหอม
2.8 องค์การบริหารส่วนตำบลโคกไม้ลาย
2.9 องค์การบริหารส่วนตำบลไม้เค็ด
2.10 องค์การบริหารส่วนตำบลโนนห้อม
2.11 องค์การบริหารส่วนตำบลดงพระราม

การศึกษา
อำเภอเมืองปราจีนบุรี มีสถานศึกษา 75 แห่ง 661 ห้องเรียน แบ่งเป็น
ศูนย์เด็กเล็ก                                   จำนวน   19  แห่ง 
อาชีวศึกษา                                    จำนวน     2  แห่ง
โรงเรียนเอกชน                               จำนวน     4  แห่ง
โรงเรียนโสตศึกษา/ศึกษาพิเศษจังหวัด       จำนวน     2  แห่ง
ระดับประถมศึกษา                           จำนวน   37  แห่ง
ระดับมัธยมศึกษา                             จำนวน     7  แห่ง 
ระดับปริญญาตรี/ปริญญาโท                 จำนวน     4  แห่ง 

เศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สภาพทางเศรษฐกิจของอำเภอเมืองปราจีนบุรี อยู่ในเกณฑ์ดี ประชากรร้อยละ 80 มีรายได้จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่อำเภอเมืองปราจีนบุรี ร้อยละ 97 นับถือศาสนาพุทธ และประชากร
ร้อยละ 3 นับถือศาสนา คริสต์ / อิสลาม ซึ่งอาศัยอยู่ในท้องที่ตำบลบ้านพระ และตำบลหน้าเมือง

ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี
วัฒนธรรมและประเพณีของอำเภอเมืองปราจีนบุรี มีลักษณะเช่นเดียวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และลักษณะวัฒนธรรมพื้นบ้านของอำเภอเมืองปราจีนบุรี เกิดจากวิถีชีวิต ในชนบทได้ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน บางอย่างก็ได้รับมาจากที่อื่น แต่ใช้ร่วมกันมาเป็นประเพณีจนถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมพื้นบ้านบางอย่างของอำเภอเมืองปราจีนบุรี มีลักษณะเฉพาะเป็นของตัวเอง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น